ปัญหาใหญ่ในงานติดตั้งพื้นอีพ็อกซี่

ในปัจจุบันการเคลือบ พื้นอีพ็อกซี่ ในโรงงานอุตสาหกรรมได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากพื้นของโรงงานมักจะเสี่ยงต่อการถูกกระแทกจากการตกหล่นหรือการเคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ และต้องรองรับน้ำหนักของเครื่องจักรขนาดใหญ่ อีกทั้งอาจจะมีสารเคมีและน้ำมันที่อาจตกลงสู่พื้นและทำลายพื้นผิวของโรงงานได้ การเคลือบ พื้นอีพ็อกซี่ (epoxy) โรงงานจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความแข็งแรงและปลอดภัยให้กับพื้นโรงงาน เนื่องจากนี้เมื่อเคลือบแล้วจะทำให้พื้นคอนกรีตสามารถทนทานต่อแรงกระแทก รองรับน้ำหนักต่าง ๆ ได้ดี ไม่ทำให้พื้นลื่น ทั้งยังทนทานต่อความร้อนและไฟได้อีกด้วย ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นโรงงานได้อย่างดีค่ะ ดังนั้นการเคลือบพื้นอีพ๊อกซี่ จึงป็นสิ่งที่ทุกๆโรงงานควรทำ เพราะนอกจากจะทนทานต่อแรงกระแทกและน้ำหนักแล้ว ยังป้องกันคราบสกปรกต่าง ๆ ซึมเข้าสู่พื้นของโรงงานได้ ช่วยทำให้อากาศภายในโรงงานเย็นมากขึ้นเพราะสามารถส่งความเย็นจากพื้นมาสู่ภายในโรงงาน การเคลือบ Epoxy ที่พื้นจึงไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของความแข็งแรงปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประโยชน์เรื่องของสภาพอากาศภายในโรงงานอีกด้วย

พื้นอีพ็อกซี่ ส่วนใหญ่หลายท่านคงเคยได้ยินแต่ข้อดีต่างๆ เช่น ทนทาน ทำความสะอาดง่าย รองรับแรงน้ำหนักและการสั่นสะเทือนได้ดี อายุการใช้งานยาวนาน ทนต่อแรงกระทำ สามารถทนต่อสารเคมีต่างๆ ได้นั่นเป็นการวัดที่การติดตั้งสมบูรณ์ 100%หรือเป็นเพียงทางทฤษฏี แต่การทำงานจริงหรือติดตั้งที่พื้นที่จริงมีองค์ประกอบมากมายที่ลดประสิทธิภาพของพื้นอีพ็อกซี่ลง ทำให้ไม่สามารถใช้งานพื้นที่มี performance ได้เต็มที่ และข้อควรคำนึงอีกอย่างคือพื้นอีพ็อกซี่นั้นเป็นพื้นที่ hand made ทุกขั้นตอน จึงอาจจะมี defect หรือบางบริเวณที่อาจจะมีการติดตั้งที่ไม่สมบุรณ์ ขอยกตัวอย่าง่ายๆ เช่น ความหนาพื้นที่ออกแบบให้มีความหนา 4 มิลลิเมตร บางพื้นที่จะมีความหนา 4 มิลลิเมตร บางพื้นที่อาจจะมี 3.5 มิลลิเมตร เป็นต้น

ปัญหาใหญ่ๆที่พบเจอ 4 ข้อนั้นมีอะไรบ้าง และ สามารถป้องกันเพื่อไม่ให้ปัญหาพื้นลุกลามมากกว่านี้
1. ปัญหาความชื้นที่อยู่ในพื้นผิวคอนกรีต เป็นปัญหาที่พบมากในพื้นที่ร้อนชื้นคือคอนกรีตจะอมความชื้นไว้มากจนไม่สามารถติดตั้ง พื้นอีพ็อกซี่ ได้ สาเหตุที่คอนกรีตอมความชื้นไว้มากมีหลายข้อ เช่น คอนกรีตมีความพรุนมาก ก่อนเทพื้นคอนกรีตไม่มีการติดตั้งระบบกันซึมที่กันความชื้น หรือคอนกรีตมีกำลังอัดต่ำเป็นผลให้ความชื้นสามารถแทรกตัวเข้ามาได้ อีพ็อกซี่ กับความชื้นเป็นของที่ไม่ถูกกัน แม้ความชื้นเพียงนิดเดียวก็สามารถทำให้พื้นอีพ็อกซี่หลุดร่อนได้ แนะนำให้วัดความชื้นที่ผิวคอนกรีตก่อนการติดตั้งพื้นทุกครั้งโดยในทางทฤษฏีควรมีความชื้นไม่เกิน 5% เมื่อวัดแล้วมีค่าเกิน กรณีพื้นคอนกรีตเทใหม่ ต้องรอให้พื้นคายความชื้นหลังเทคอนกรีตและรออย่างน้อย 28 วันหลังเทคอนกรีตสด ส่วนพื้นที่เดิมถ้าเกินควรทำการซ่อมแซมหยุดความชื้นด้วย pu foam injection หรือ acrylate gel injection เพื่อ block ความชื้นก่อน ถ้าเราปูพื้นอีพ็อกซี่บนพื้รนผิวชื้นอายุการใช้งานจะสั้นลงและหลุดร่อนในที่สุด

2. ปัญหาการเตรียมพ้นผิวไม่ดีพอและไม่เหมาะสมกับเรซิ่นที่ใช้ เป็นปัญหาพื้น classic ที่เกิดขุ้นบ่อยมากเพราะผู้รับเหมาพื้นส่วนใหญ่คิดว่าใช้เครื่องปั่น grinding แบบเดียวใช้ได้ทุกพื้นผิว ซึ่งไม่เป็นความจริง การเลือกใช้เครื่องมือเตรียมผิวหน้าพื้นนั้นสำคัญมาก 70% ของคุณภาพพื้นจะดีไม่ดีอยู่ที่การเตรียมพื้นผิว พื้นเรซิ่นบางชนิดต้องใช้ floor grinding machine พื้นบางชนิดต้องการ shot blast machine บางชนิดต้องใช้ scarifying machine ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพผิวหน้างานและความเหมาะสมกับวัสดุที่เลือกใช้ทำพื้น พื้นที่ต้องการลอกผิวหน้าเพื่อให้เจอพื้นผิวที่แข็งแกร่งอาจะต้องใช้เครื่องขูดที่ลึกกว่าปกติทั้วไป การเตรียมผิวนั้นจุดประสงค์เพื่อ เพิ่มแรงยึดเกาะ ขูดผิวที่เสทื่อมสภาพหรือไม่ได้กำลังทิ้งไป ลอกผิวหน้าที่มีคราบสารเคมีหรือสารละลายตกค้าง เตรีียมพื้นผิวเพื่อเสริมกำลังคอนกรีตทีผิวหน้า ขูดลอกวัสดุเดิมออก เปิดหน้าให้เจอผิว aggregate เป็นต้น ซึ่งเน้นว่าสำคัญมากขั้นตอนนี้ ถ้าทำไม่ดี พื้นอีพ็อกซี่แพงๆ จะหลุดร่อนอย่างง่ายดาย

3. ปัญหาฟองอากาสบนผิวหน้าพื้นอีพ็อกซี่ เกิดได้บ่อยและพบมาก เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ workmanship ซึ่งฟองอากาสนั้นเกิดที่ผิวหน้าได้ง่ายมาก เช่นถ้าพื้นผิวคอนกรีตไม่ได้รับการ seal อย่างดีและมีรูหรือช่องว่าง เมือเทพื้นอีพ็อกซี่จะมีโอกาสเกิดฟองอากาสบนผิวหน้าได้มากขึ้นหรือพื้นผิวมีสิ่งตกค้างเช่นน้ำมันหรือสารเคมี ก็จะส่งผลต่อผิวหน้าด้านบน เราสามารถ block หรือ seal รูต่างๆด้วยการเพิ่มชั้นต่างๆเพื่อป้องกันการเกิดฟองที่ผิวหน้าได้เช่น เพิ่มชั้น primer จาก 1 เที่ยวเป็น 2 เที่ยว หรือการเพิ่มชั้นเสริมแรง epoxy sand putty , epoxy sand mortar เพอ่มเก็บรายละเอียดที่จะเกิดฟองอากาสที่ผิวหน้าเรซิ่น โดยเราจะต้องตรวจสอบพื้นผิวทุกตารางนิ้วก่อนการเทพื้นอีพ็อกซี่ชั้นบนสุดเพื่อความสวยงาม ทั้งนี้ทั้งนั้นการเกิดฟองเพียงเล็กน้อยมีโอกาสเกิดได้เพราะเป็น man made floor หรือพื้นที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอนการเกิดฟองเพียง 1-3% ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นสิ่งที่ควรยอมรับได้

4. การเกิดรอยร้าวบนผิวพื้นอีพ็อกซี่ เราขอแยกเป็นสองส่วนคือ รอยร้าวที่เกิดจากปัญหาด้านโครงสร้างหรือ structural crack ซึ่งเป็นรอยร้าวที่มีความกว้างมากกว่า 0.5มิลลิเมตร จะส่งผลต่อรอยร้าวที่เกิดบนผิวพื้นอีพ็อกซี่ เพราะรอยร้าวนั้นเป็นรอยร้าวที่หนักและยาวมีลักษณะลึก ต้องทำการซ่อมแซมแบบรอยร้าวโครงสร้าง เรานิยมซ่อมด้วย epoxy injection หากไม่ใช่รอยร้าวโครงสร้างแต่พบว่ารอยร้าวเกิดที่ผิวอีพ็อกซี่ สาเหตุมาจากหลายองค์ประกอบ เช่น การผสมไม่ได้อัตราส่วน การเทพื้นบริเวณนั้นทำการปาดบางเกินไปบางจนไม่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง หรือที่พบได้บ่อยอีกกรณีคือทำในขณะอุณหภูมิที่สูงมาก